กีฬาระดับภูมิภาคเอเชียตะกร้อ 

เราเชื่อว่าหลายๆคนนั้นรูจักกีฬาตะกร้อเพราะว่าเป็นกีฬาอย่างหนึ่งของประเทศไทยเราและได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศของเราด้วยแต่เรานั้นก็เชื่ออีกว่ายังไม่ค่อยมีใครนั้นรู้เกี่ยวกับประวัติของตะกร้ออย่างแน่นอนวันนี้เรานั้นจะมาเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับตะกร้อกันลองอ่านดูนะ 

ตะกร้อหรือว่า เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาความหวังเหรียญทองของประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับภาคหรือว่าทวีปเอเชียอย่างซีเกมส์และเอเชี่ยนเกมส์ มาอย่างยาวนาน และวันนี้เราจะมารู้จักกับกฎกติกาการเล่นตะกร้อคร่าวกัน

ประวัติเซปักตะกร้อ  

กีฬาเซปักตะกร้อหรือตะกร้อ ยังไม่มีหลักฐานระบุที่แน่ชัดว่าจุดกำเนิดจากประเทศใด เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง  ไทย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ต่างบอกว่าต่างเป็นต้นกำเนิดขึ้นมาทั้งนั้น แต่สำหรับไทยนั้นมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา นิยมเล่นกันบนลานกว้าง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น และลูกตะกร้อ ทำมาจากลูกหวาย หรือ บางทีก็มีเตะตะกร้อลอดห่วง 

ซึ่งสำหรับตะกร้อแบบข้ามตาข่ายในปัจจุบันที่มีการเล่นฝั่งละสามคน นำมาจากประเทศมาเลเซีย คือ เซปักรากา จาริง หรือ เซปักตะกร้อ ซึ่งดัดแปลงมาจากวอลเลย์บอลและก็ย่อสนามให้เล็กลง โดยที่เริ่มเผยแพร่ในประเทศไทยประมาณเดือนมีนาคม  

สนามตะกร้อ  สนามเซปักตะกร้อ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ยาว 13.4 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เป็นพื้นพลาสติก โดยจะแบ่งเขตแดนออกเป็น 2 ส่วน เท่าๆกันและในแต่ละแดนจะกำหนดจุดยืนสำหรับการเสริฟ 3 จุดด้วยกันคือจุดที่อยู่ตรงมุมที่ติดกับตาข่าย 2 จุด ขีดเส้นโค้งวงกลมเอาไว้และจุดที่อยู่ตรงกลางแดนนั้นเยื้องออกไปข้างหลัง 1 จุด ขีดเส้นวงกลมโดยทั้งหมด 3 จุด จุดนี้จะจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสามาตรพอดี

สำหรับมุมที่ติดกับตาข่ายทั้งซ้ายและขวาและวงกลมที่อยู่กลางแดนคือจุดเสิร์ฟ

ตาข่าย ตาข่ายสำหรับเซปักตะกร้อมีไว้กั้นเขตแดนระหว่างสองฝ่าย กว้าง 70 เซนติเมตร  ยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร โดยสำหรับการแข่งขันนั้นของผู้ชายนั้นจะสูง 1.52 เมตร ส่วนผู้หญิงนั้น 1.42 เมตร 

ผู้เล่น การเล่นตะกร้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ตะกร้อปกติที่มี 3 คน และตะกร้อคู่ 2 คน กล่าวคือ เมื่อก่อนมีแต่การแข่งขันตะกร้อปกติ แล้วก็มาเพิ่ม ตะกร้อแบบคู่ขึ้นมา เพราะต้องการกระจายเหรียญทองของกีฬาชนิดนี้ได้มากขึ้น 

วิธีการเล่น  จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มเสริฟ เตะข้ามไปอีกฝ่ายหนึ่งโดยที่ฝ่ายที่ได้รับลูกตะกร้อต้องพยายยามเตะตะกร้อให้ตกลงพื้นของอีกฝ่ายให้ได้ ในขณะที่เป็นฝ่ายตั้งรับนั้นต้องป้องกัน เพื่อที่จะไม่ให้ลูกตะกร้อนั้นเตะลงแดนตันของตัวเอง และก็ต้องเปลี่ยนสภาพเป็นฝ่ายบุกเพื่อที่ให้อีกฝ่ายนั้นเป็นผู้ตั้งรับโดยที่เรานั้นต้องให้ฝ่ายตรงข้ามนั้นรับลูกที่เรานั้นเตะไปไม่ได้และเพื่อที่ให้เรานั้นได้คะแนน 

You may also like